การแพทย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และใกล้ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
ประเทศไทยมีการแพทย์สองอย่าง คือ
๑. การแพทย์พื้นบ้าน ชาวบ้านได้ใช้กันมาเป็นเวลานาน ขณะนี้ประชาชนจำนวนมากก็ยังใช้กันอยู่ ปัจจุบันเรียกว่า การแพทย์แผนโบราณไม่ได้ใช้ว่า "การแพทย์เดิมหรือการแพทย์พื้นบ้านของไทย"
๒. การแพทย์แผนปัจจุบันนำเข้ามาโดยชาวตะวันตก เรียกกันในขณะนี้ว่า "การแพทย์แผนปัจจุบัน" การแพทย์แผนโบราณอาจเกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน ขณะที่มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันรู้จักอยู่กัน เป็นหมู่เหล่า รู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จากผลของการขุดค้นพบว่ามนุษย์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้และรวมกันเป็นหมู่ เหล่านั้น จะปรากฏเมื่อประมาณ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ร่องรอยที่เชื่อว่าอาจมีบุคคลที่ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นหมอหรือแพทย์ ก็คือ การพบสัญลักษณ์ที่อาจสันนิษฐานได้ว่าเกี่ยวเนื่องกับการเจ็บป่วย คือในโครง ที่ B.๑๐ หลุม BKI ที่ขุดโดยคณะสำรวจเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ ที่หมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
โครงนี้นอกจากจะมีเครื่องปั้นดินเผา ขวานหิน เปลือกหอยแล้ว ยังมีวัตถุอื่นที่แปลกออกไปจากโครงอื่นๆ อีก ๒ อย่าง ชิ้นหนึ่ง เป็นแผ่นหินรูปกลม มีรูเจาะตรงกลาง ขอบค่อนข้างคม มีรอยชำรุดเล็กน้อย และมีรอยกะเทาะค่อนข้างชัดเจน ๒ รอย ผิวขัดเล็กน้อยให้เรียบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒๕.๑ เซนติเมตร รูที่เจาะกว้าง ๗.๑ เซนติเมตร ขนาดของรูไม่โตพอที่จะสอดเข้าไปในแขนได้ อีกชิ้นหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขากวางข้างหนึ่ง (Cervus unicolor equinus) กิ่งแรกที่แยกออก (กิ่งรับหมา) ได้ถูกตัดออกไป ที่รอยตัดถูกทำให้เป็นรูกลวง ส่วนของเขาที่ต่อขึ้นไปถูกทำให้เกลี้ยง แล้วตัดที่ปลายกิ่งที่แยกออกไป ๒ กิ่ง ถัดเข้ามาเป็นรอยควั่น ขนานกับรอยตัดกิ่ง ทำให้เป็นรูเช่นเดียวกับกิ่งแรกขนาดยาว ๓๒.๕ เซนติเมตร ในรายงานสมบูรณ์ นายซอเรนเซน (Mr.Sorensen) แจ้งว่า ไม่ทราบว่าใช้สำหรับทำอะไร แต่ในรายงานย่อยสันนิษฐานว่าโครงที่พบกับเครื่องมือดังกล่าวอาจทำหน้าที่ เป็นหมอ และเขากวางใช้ในการพิธีรักษา
ต่อมาในการ ขุดค้นที่ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นโครงของสมัยทวารวดี ก็ได้พบอีกชั้นหนึ่งแต่ชำรุด ชิ้นที่ ๓ ชาวบ้านขุดค้นได้จากหมู่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นของยุคสำริด เป็นเขาของกวางขนาดใหญ่ มีขนาดยาวเพียง ๑๕ เซนติเมตร มีรอยตัดทั้งกิ่งรับหมาและกิ่งที่ต่อขึ้นไป แต่ไม่ยาวไปถึงส่วนที่จะแบ่ง เช่นที่พบที่หมู่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ชิ้นที่ ๔ พบที่ ตำบลโพธิ์หัก จังหวัดราชบุรี การพบนี้อาจจะมีคำโต้แย้ง เพราะโครงกระดูกทั้ง ๔ แห่งนี้ได้มีประเพณีนำส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ไปทำเป็นเครื่องเซ่น สัตว์ที่พบมากก็คือหมู โดยมากใช้ส่วนหัวของหมู พบได้เป็นจำนวนมากกับโครงกระดูกที่ขุดพบ แต่เขากวางเป็นของพบได้น้อย และส่วนที่เป็นเขาก็ไม่ได้ใช้เป็นอาหาร การใช้เขากวางจึงเป็นเหมือนเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นเครื่องใช้สอยถูกนำไปวางไว้เป็นเครื่องเซ่น การใช้เขากวางเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการแพทย์ ได้พบเป็นรายงานอีกแห่งหนึ่ง คือ การเขียนรูปแพทย์ (medical man) หรือหมอผี (witch doctor) ที่ผนังของถ้ำในเทือกเขาพีรีนีส (Pyrenees) มีชื่อว่า ถ้ำเลส์ ตรัวส์ แฟรร์ (Les Trois Freres) อยู่ในประเทศฝรั่งเศส ภาพที่เขียนเป็นภาพคน คลุมด้วยหนังของสัตว์ชนิดหนึ่ง มีส่วนขาและแขนเขียนลายเป็นแถบๆ แต่ที่หัวมีเขากวางติดอยู่ ประมาณว่าเป็นภาพที่เขียนในสมัย โอริกเนเซียน (Aurignacian) ในตอนกลางของทวีปยุโรป
จากข้อความดังกล่าว ประกอบกับคำอธิบายเป็นส่วนตัว จาก นายซอเรนเซน สันนิษฐานว่าเขากวางที่พบในประเทศไทยนั้น อาจใช้แต่งประกอบกับศีรษะของหมอผี หรือรูปสลักเป็นรูปคน แล้วเอาเขากวางที่ตัดตกแต่งแล้วไปประดับ ไม่ใช่เขากวาง ทั้งชิ้นประดับเช่นในรูป
การพบนี้อาจมีความสำคัญเกี่ยวกับการสืบเนื่องถึงพิธีกรรม ที่อาจทำสืบต่อกันมาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยหินใหม่ที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี (ประมาณ ๔,๐๐๐ ปี) ถึงสมัยทวารวดี ที่ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (๑,๒๐๐ ปี) หลักฐานประการที่ ๒ ที่แสดงว่าได้มีการรักษากันจริงๆ ก็ คือ การเจาะกะโหลกให้เป็นรูทะลุ ซึ่งศัพท์แพทย์ใช้ว่า ทรีไฟนิง (trephining) หรือ ทรีแพนนิง (trepanning) พบที่บ้านธาตุ ใกล้บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และเป็นโครงกระดูกสมัยเดียวกัน คือ สมัยสำริด หรือสมัยโลหะ รูที่พบอยู่ทางด้านซ้ายของกะโหลกในบริเวณขมับ ซึ่งเป็นกระดูกเทมปอรัล (temporal bone) มีขนาด ๙ x ๑๐ มิลลิเมตร อยู่สูงจากรูหู ๔๐ มิลลิเมตร การเจาะรูในกะโหลกในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบหลายแห่งของโลก มนุษย์สมัยหินใหม่ที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก็ทำกัน พบได้หลายแห่ง พบมากในประเทศฝรั่งเศส พบได้บ้างในประเทศออสเตรีย โปแลนด์ รัสเซีย เยอรมนี และสเปน นอกจากทวีปยุโรปยังพบในบริเวณที่เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก พบในอเมริกาเหนือและใต้ ในแอฟริกาและเอเชีย เป็นการรักษาที่ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งจะทำการ รักษาเมื่อมีหลอดโลหิตแตกในกะโหลก หรือเจาะแล้วเปิดกะโหลกให้กว้าง เพื่อรักษาก้อนทูมหรือหลอดเลือดที่แตกลึกเข้าไปในเนื้อสมอง แต่การกระทำในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาจทำเพื่อปล่อยสิ่งที่บุคคลในสมัยนั้นเชื่อว่าทำให้เกิดการปวดศีรษะอย่างแรง หรือทำให้ผู้ป่วยเป็นลมบ้าหมู
หลักฐานเกี่ยวกับหมอผี และการรักษาซึ่งถือเป็นการแพทย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยคงพบได้เพียง ๒ อย่างตามที่กล่าว แต่โรคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังมีอีกหลายโรค แต่การศึกษายังไม่กว้างขวางพอที่จะกล่าวในขณะนี้ได้
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555
ประวัติการเต้นรำแบบบอลล์รูม
“ลีลาศ” หมายถึงการเต้นเพื่อความสนุกสนานและได้พบกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมในงานสังสรรค์ หรืองานราตรีสโมสร ลีลาศนี้ มีมานับเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรีการเต้นรำแบบบอลรูม (Ballroom Dancing) เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างชาติและเผ่าพันธุ์ต่างๆ ถึงแม้ว่าชาวตะวันตกจะนิยมกันอย่างมาก แต่การเต้นรำแบบบอลรูมก็เป็นที่ยอมรับของชนทุกชาติ
ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวสปาร์ต้า จะฝึกกีฬา เช่น ชกมวย, ยิงธนู, วิ่ง, ขี่ม้า ล่าสัตว์ รวมถึงการ เต้นรำ ส่วนชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.)
การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1 ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า “โวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก
เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า “โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante)
สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่าง
เต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้นในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า 4 ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้างในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหว(Syncopation) มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น 5 จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot)
เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น 5 จังหวะ) คือ รัมบ้า (Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=khamriang&month=12-2009&date=17&group=21&gblog=22
ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวสปาร์ต้า จะฝึกกีฬา เช่น ชกมวย, ยิงธนู, วิ่ง, ขี่ม้า ล่าสัตว์ รวมถึงการ เต้นรำ ส่วนชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.)
การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1 ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า “โวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก
เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า “โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante)
สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่าง
เต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้นในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า 4 ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้างในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหว(Syncopation) มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น 5 จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot)
เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น 5 จังหวะ) คือ รัมบ้า (Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)